น้ำบาดาล คืออะไร (ไขความลับ ทรัพยากรธรรมชาติใต้พื้นดิน)

👉 สมัครสมาชิก 👈

รับข่าวสาร📢
จาก The Guru First ก่อนใคร

ลงชื่อ อีเมล สมัครสมาชิก TGF

น้ำบาดาล หมายถึง น้ำที่มีอยู่ใต้พื้นผิวโลกในชั้นหินอุ้มน้ำ (aquifer) ซึ่งเป็นชั้นหินที่มีช่องว่างต่อเนื่องกัน เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญอย่างหนึ่ง และมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนระบบนิเวศต่าง ๆ

ก่อนจะเป็นน้ำบาดาล

น้ำที่อยู่ผิวดินก่อนจะเป็นน้ำบาดาลจะต้องผ่านชั้นดินและชั้นหินต่อไปนี้

น้ำบาดาล คืออะไร

ดินชั้นบนสุด

คือดินซึ่งประกอบด้วยหินผุกร่อน อินทรียวัตถุ และแร่ธาตุ

ชั้นผิวดิน หรือ Regolith

คือชั้นที่ประกอบด้วยหินที่แตกหัก วัสดุที่แตกเป็นชิ้นนี้มีบทบาทในกระบวนการกรองเมื่อน้ำฝนผ่านไปทางใต้ดิน ชั้นหินอุ้มน้ำคือชั้นของหินหรือตะกอนที่น้ำสามารถซึมผ่านได้ซึ่งสามารถกักเก็บและส่งน้ำใต้ดินจำนวนมากได้

ทรายแป้ง หรือ Silt

คือดินประเภทหนึ่งที่มีอนุภาคขนาดใหญ่กว่าดินเหนียวแต่เล็กกว่าทราย แม้ว่าทรายแป้งจะมีคุณสมบัติยอมให้น้ำซึมผ่านได้สูงกว่าดินเหนียว แต่ก็ยังสามารถทำหน้าที่เป็นชั้นที่กักเก็บน้ำได้ โดยเฉพาะบริเวณที่มีการก่อตัวเป็นชั้นที่หนา

ทราย ทรายแป้ง และดินเหนียว
ที่มา : Soil Types – RainMachine

ดินเหนียว หรือ Clay

เป็นดินประเภทเนื้อละเอียดที่มีอนุภาคขนาดเล็กมาก มีการซึมผ่านของน้ำต่ำ ซึ่งทำให้เป็นชั้นกักเก็บน้ำที่มีประสิทธิภาพ

ต่อไปเป็นเรื่องน่ารู้ กว่าจะมาเป็น…บ่อน้ำบาดาล กับขั้นตอนการสำรวจและพัฒนาแแหล่งน้ำบาดาล ข้อมูลส่วนนี้มาจาก สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ครับ

ก่อนจะมาเป็นบ่อน้ำบาดาลให้ทุกท่านได้ใช้งานการนั้น หลายคนอาจจะเคยคิดว่าแค่ว่าเพียงแค่เจาะท่อลงไปในพื้นดิน ก็จะมีน้ำบาดาลไหลพุ่งออกมาให้ใช้งานเป็นจำนวนมาก แต่แท้ที่จริงแล้วขั้นตอนการเจาะน้ำบาดาลนั้นต้องมีขั้นตอนการทำงานหลายสิ่งอย่างดังนี้

การทำฐานข้อมูล

ก่อนอื่นใดคือต้องเริ่มทำฐานข้อมูลของพื้นที่ ๆ จะทำการจุดเจาะน้ำบาดาลก่อน ทั้งการใช้ภาพถ่ายทางอากาศ, ภาพถ่ายดาวเทียม, แผนที่ต่าง ๆ ทั้งทางธรณีวิทยาและภูมิประเทศโดยรอบ และเจาะลึกไปถึงข้อมูลชั้นดินและชั้นดิน

การสำรวจภาคสนาม

หลักจากทำการทำฐานข้อมูลแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการส่งเจ้าหน้าที่ลงพื้นสำรวจภาคสนามที่พื้นที่จริง เพื่อตรวจสอบลักษณะภูมิประเทศ และสำรวจทางธรณีฟิสิกส์

คัดเลือกสถานที่

เมื่อการสำรวจภาคสนามเสร็จสิ้นแล้ว จึงทำการคัดเลือกสถานที่ ๆ จะทำการขุดเจาะน้ำบาดาลอย่างจริงจัง จนนำไปสู่ขั้นตอนการเจาะบ่อน้ำบาดาล

การเจาะบ่อน้ำบาดาล วิเคราะห์ชั้นดิน/หิน และการออกแบบก่อสร้างบ่อน้ำบาดาล

ซึ่งภายหลังจากการเริ่มเจาะแล้ว ก็จะนำไปสู่การตรวจสอบชั้นน้ำ และออกแบบสร้างบ่อเพื่อใช้งานต่อไป

การพัฒนาบ่อน้ำ ทดสอบปริมาณน้ำ และวิเคราะห์คุณภาพน้ำ

เพราะเมื่อการเจาะเสร็จสิ้นลง แหล่งน้ำบาดาลในแต่ละพื้นอาจมีความแตกต่างกันออกไป ทั้งปริมาณที่ใช้งานได้จริง รวมไปถึงคุณภาพ ที่ทางกรมทรัพยากรน้ำบาดาลต้องตรวจสอบอย่างจริงจังเพื่อให้ได้น้ำบาดาลที่สามารถใช้อุปโภคบริโภคที่มีคุณภาพสูงที่สุด

การออกแบบและก่อสร้างระบบจ่ายน้ำ จนนำไปสู่การใช้ประโยชน์จริง

เมื่อผ่านการตรวจคุณภาพและปริมาณแล้ว การก่อสร้างระบบจ่ายน้ำเพื่อส่งน้ำไปสู่ประชาชนจึงเป็นขั้นตอนสุดท้ายที่สำคัญยิ่ง ในการนำน้ำบาดาลไปใช้ประโยชน์ทั้งในชีวิตประจำวันของประชาชนทุกคน

โดยสรุป น้ำบาดาลเป็นทรัพยากรที่สำคัญและมีคุณค่าซึ่งมีบทบาทสำคัญในการดำรงชีวิตบนโลกของเรา ในขณะที่เรายังคงเผชิญกับความท้าทาย เรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สิ่งสำคัญคือต้องทำความเข้าใจและปกป้องแหล่งน้ำใต้ดิน เราทุกคนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรอันมีค่านี้เพื่อโลกที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืนครับ

อ่านบทความอื่น ๆ เพิ่มเติม คลิก

ติดตามครูเฟิร์สใน Facebook Fanpage : ครูเฟิร์ส The Guru First คลิก

พิเศษ!!

สำหรับนักเรียนที่ต้องการเรียนรู้เพิ่มเติม

สนใจอยากได้เทคนิคคิดเร็ว เก่งไว เข้าใจง่าย เรียนแบบเน้น ๆ เจาะแนวข้อสอบที่เจอบ่อย เจอแน่!! ขอแนะนำ คอร์สออนไลน์ ของ The Guru First ไม่ว่าจะเป็น คอร์สออนไลน์ หรือ คอร์สสอนสด เลือกเรียนตามความต้องการได้เลยครับ

กำลังมีคำถามอยู่หรือเปล่าครับ ?

Similar Posts

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *