ตัวคูณร่วมน้อย ค.ร.น.

👉 สมัครสมาชิก 👈

รับข่าวสาร📢
จาก The Guru First ก่อนใคร

ลงชื่อ อีเมล สมัครสมาชิก TGF

ตัวคูณร่วมน้อย คือตัวเลขที่เป็นผลคูณที่น้อยที่สุดของตัวเลขสองตัวหรือมากกว่า เราสามารถใช้ตัวคูณร่วมน้อยเพื่อแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้ในวิชาคณิตศาสตร์ และบางเหตุการณ์ที่เราจะได้เจอ

บทความนี้จะกล่าวถึงความหมาย วิธีต่าง ๆ ในการหาตัวคูณร่วมน้อย เทคนิคสำคัญ ที่จะช่วยให้เราสามารถหาคำตอบได้ไว และใช้ตัวคูณร่วมน้อยได้อย่างถูกต้องครับ

ตัวคูณร่วมน้อย ค.ร.น.

ความหมายของ ตัวคูณร่วมน้อย ค.ร.น.

ตัวคูณร่วมน้อย หมายถึง จำนวนที่มีค่าน้อยที่สุดซึ่งจํานวนที่กําหนดให้ทั้งหมดสามารถหารจำนวนนั้นได้ลงตัว

ตัวอย่าง

จงหาตัวคูณร่วมน้อยของ 6 และ 9 ช่วงจำนวนที่ไม่เกิน 50

6 เป็นตัวประกอบของ 6, 12, (18), 24, 30, (36), 42, 48

9 เป็นตัวประกอบของ 9, (18) , 27, (36) , 45

ตัวคูณร่วมของ 6 และ 9 คือ 18 และ 36

ตัวคูณร่วมน้อย (ค.ร.น.) คือ 18 (มีค่าน้อยสุด)

ความหมายของ ตัวคูณร่วมน้อย ค.ร.น.

วิธีหาตัวคูณร่วมน้อย

วิธีแยกตัวประกอบ

  • 1.1 แยกตัวประกอบทุกจำนวนที่กำหนดให้
  • 1.2 ตัวประกอบใดซ้ำกับตัวประกอบของจำนวนอื่น ๆ ให้นำมาใช้เพียงตัวเดียว และตัวประกอบใดที่ไม่ซ้ำกันให้นํามาใช้ทั้งหมด
  • 1.3 ค.ร.น. เท่ากับผลคูณของทุก ๆ จํานวนที่นํามาใช้
วิธีแยกตัวประกอบ (ค.ร.น.)

ตัวอย่าง การหาตัวคูณร่วมน้อย ค.ร.น. โดยวิธีแยกตัวประกอบ

ตัวอย่างวิธีหาตัวคูณร่วมน้อย (ค.ร.น.) โดยวิธีแยกตัวประกอบ

วิธีตั้งหาร

  • 2.1 ให้ทุกจํานวนที่กําหนดเป็นตัวตั้ง
  • 2.2 นําจํานวนเฉพาะที่สามารถหารจํานวนที่กําหนดให้อย่างน้อย 1 จำนวนลงตัวมาเป็นตัวหาร และหารแบบสั้น
  • 2.3 จํานวนที่หารไม่ลงตัวให้คงไว้ และให้นํามาเป็นตัวตั้งของการหารครั้งต่อไป
  • 2.4 ทําไปเรื่อย ๆ จนได้ผลหารของทุกจํานวนเป็นจํานวนเฉพาะที่ไม่เหมือนกันหรือเป็น 1
  • 2.5 ค.ร.น. คือ ผลคูณของจำนวนเฉพาะที่เป็นตัวหารทุกตัวกับผลหารที่ได้ในบรรทัดสุดท้ายทุกตัว
วิธีตั้งหาร

ตัวอย่าง การหาตัวคูณร่วมน้อย ค.ร.น. โดยวิธีตั้งหาร

ตัวอย่างวิธีหาตัวคูณร่วมน้อย โดยวิธีตั้งหาร

ทริคการหา ค.ร.น.

ถ้าจํานวนที่กำหนดให้ทุกจำนวน เป็นจํานวนเฉพาะ ให้นำจำนวนที่กำหนดให้มาคูณกัน จะได้ ค.ร.น.

เช่น ค.ร.น. ของ 5 กับ 19 คือ 5 x 19 = 95

ทริค

โจทย์ปัญหาที่นิยมใช้วิธีหา ค.ร.น.

การวนกลับมาเจอกัน หรือ โจทย์ที่มีคำว่า “พร้อมกันอีกครั้ง”

เช่น

  • เมื่อใดระฆังจะกลับมาพร้อมกัน
  • เวลาเท่าไหร่นาฬิกาจะเดินพร้อมกัน
  • นานเท่าไรนักกีฬาจะกลับมาวิ่งพร้อมกัน
โจทย์ปัญหาที่นิยมใช้ ค.ร.น.

ตัวอย่างโจทย์ปัญหา ค.ร.น. (ตัวอย่างที่ 1)

ตัวอย่างโจทย์ปัญหา ค.ร.น. 1

ตัวอย่างโจทย์ปัญหา ค.ร.น. (ตัวอย่างที่ 2)

ตัวอย่างโจทย์ปัญหา ค.ร.น. 2

ครูเฟิร์สสอน ค.ร.น.

EP1

EP2 วิธีแยกตัวประกอบ

EP3 แบบหารสั้น

ติดตามครูเฟิร์ส ได้ที่นี่

อ่านบทความอื่น ๆ เพิ่มเติม คลิก

ติดตามครูเฟิร์สใน Facebook Fanpage : ครูเฟิร์ส The Guru First คลิก

พิเศษ!!

สำหรับนักเรียนที่ต้องการเรียนรู้เพิ่มเติม

สนใจอยากได้เทคนิคคิดเร็ว เก่งไว เข้าใจง่าย เรียนแบบเน้น ๆ เจาะแนวข้อสอบที่เจอบ่อย เจอแน่!! ขอแนะนำ คอร์สออนไลน์ ของ The Guru First ไม่ว่าจะเป็น คอร์สออนไลน์ หรือ คอร์สสอนสด เลือกเรียนตามความต้องการได้เลยครับ

กำลังมีคำถามอยู่หรือเปล่าครับ ?

Similar Posts